April 28, 2024

วางแผนทำประกันอย่างไรดี

วางแผนทำประกัน

หากว่ากันด้วยเรื่องของการวางแผนในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ นั้น ย่อมเป็นแนวทางที่ดีและมีประโยชน์มากๆ เลยก็ว่าได้ครับ เช่นเดียวกับการ “ประกัน” หากเราวางแผนได้อย่างดี ก็จะไม่ต้องกังวลในหลายๆ เรื่องได้เลย… บทความนี้เลยอยากจะมาพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “วางแผนทำประกันอย่างไรดี” ให้กับทุกๆ ท่านกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมพร้อมๆ กันเล้ยย!!

การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้

การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน

–           ผู้รับประกัน (Insurer)

–           ผู้เอาประกัน (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)

–           ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)

โดยประกันภัยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

●การประกันชีวิต (Life Insurance)

การประกันชีวิต หมายรวมถึง การประกันต่อความสูญเสีย เสียหายอันจะเกิดแก่บุคคล หรือ กลุ่มบุคคล โดยสัญญาจักชดเชยเมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ (Accident and dismemberment), การประกันกรณีทุพพลภาพ (Total Disability) , หรือ การประกันสุขภาพ (Health Insurance) โดยการประกันชีวิตนั้นจะอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)[1] ประกันชีวิต พ.ศ. 2535

●การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance)

การประกันวินาศภัยแบ่งออกเป็นสี่ประเภท คือการประกันอัคคีภัย (Fire Insurance), การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance), การประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance), และ การประกันเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous/Casualty Insurance) สำหรับการประกันวินาศภัยนั้นจะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

แนวทางการวางแผนทำประกันที่ดีต้องรู้อะไรบ้าง?

ทำประกันตั้งแต่อายุน้อยๆ จะประหยัดเบี้ยประกันภัยมากกว่า การทำประกันในช่วงอายุ 20 ปีจะช่วยให้คุณได้จ่ายเงินทำประกันในอัตราที่ดี เนื่องจากในหลายๆ กรมธรรม์ อายุน้อยกว่าก็ชำระค่าเบี้ยน้อยกว่า วัยรุ่นมีความเสี่ยงน้อยกว่า – สุขภาพถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ และความเจ็บป่วยมักเกิดขึ้นในภายหลัง เหล่าหนุ่มสาวจึงมักจ่ายน้อยกว่า โดยการคำนวณเบี้ยประกันจะคิดอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง อายุและสุขภาพของผู้เอาประกันเป็นที่ตั้งอยู่แล้วนั้นเองครับ จึงไม่แปลกที่อายุน้อยๆ ค่าเบี้ยประกันก็จะน้อยตาม

ต้องประมาณการความจำเป็นของประกันและเบี้ยประกันที่เราสามารถจ่ายไหว เพราะหากเราเลือกแผนประกันที่มีค่าเบี้ยประกันมากกว่ารายรับของเราจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินของเราแย่เอาได้

ข้อดีของการมีประกันสุขภาพ

●ประกันสุขภาพช่วยเซฟรายจ่าย เพราะประกันสุขภาพเป็นประกันภัยที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล และต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล โดยเฉพาะกับในสถานพยาบาลเอกชนที่เครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ครบครัน เข้ารักษาได้ทันทีไม่ต้องรอคิวนานเหมือนฝั่งรัฐบาล ประกันสุขภาพจะเข้ามาซัพพอร์ตตรงนี้ ช่วยให้ผู้มีประกันสามารถทำการรักษาได้อย่างสบายใจมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาที่อาจมากเกินกำลังของตัวเอง

●ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ เคยมีคำพูดที่ว่า ประกันสุขภาพคือเงินทิ้งเปล่า ถ้าไม่เจ็บป่วยก็เท่ากับขาดทุน แต่ความจริงแล้ว ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันโควิด-19 ที่หลายคนทำไว้ มีประโยชน์ด้านการเงินมากกว่าที่คิด เพราะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้สูงสุดถึง 25,000 บาทต่อปี

●มีการสะสมแต้มจากการจ่ายค่าเบี้ยประกัน ในบางโบรคเกอร์หรือบริษัทนั้นจะมีการจัดกิจกรรมสะสมแต้มสำหรับนำไปแลกเป็นส่วนลดราคาสินค้าต่างๆ ได้เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ทำประกันสุขภาพได้ด้วยหล่ะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “วางแผนทำประกันอย่างไรดี” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ